Top

สำหรับกลไกในการขับเคลื่อนการทางานของสภาเกษตรกรจังหวัด คือ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๓๑ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดมีสถานะเป็นผู้แทนสภาเกษตรกรตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๓ มีองค์ประกอบ ๒ ส่วน คือ
ส่วนที่ ๑ สมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง จานวนสิบหกคน ในกรณีที่จังหวัดใดมีจานวนอำเภอมากกว่าสิบหกอำเภอ ให้เพิ่มจานวนผู้แทนเกษตรกรในจังหวัดนั้นให้เท่ากับจานวนของอำเภอ
ส่วนที่ ๒ สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสมาชิกตาม (๑) เลือกจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม จานวนห้าคน โดยมาจากด้านพืช สัตว์ และด้านประมง อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน ให้สานักงานจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้ได้สมาชิกตาม (๑) และการเลือกเพื่อให้ได้สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๒) ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภาเกษตรกรแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
การดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ประกาศรายชื่อตามมาตรา 15 และจะดารงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ให้สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะมีการประกาศรายชื่อสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติชุดใหม่
การพ้นจากตำแหน่ง นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 8 สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
1. ตาย
2. ลาออก
3. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7
4. สภาเกษตรกรแห่งชาติมีมติให้พ้นจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจานวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่
5. ลาออกจากองค์กรเกษตรกรที่ตนเป็นตัวแทนในการได้รับเลือกเป็นสมาชิกตามมาตรา 5(2)
6. ถูกจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7. ขาดหรือลาการประชุมติดต่อกันเกินกว่า 5 ครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันควร 

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...

ปฎิทินกิจกรรม